ข้อมูล Tsunami เพิ่มเติม
หลังจากงงกับแผนที่การเกิดสึนามิ ว่าศูนย์กลางแผ่นดินไหวมันตรงไหนแน่ เพราะรูปจาก CNN กับ BBC ไม่ตรงกัน ก็พอดีได้ดูถึงลูกถึงคนคืนก่อน ที่ได้เชิญอาจารย์ธรณีวิทยาจากจุฬาฯ นักวิชาการจากกรมอุตุนิยมวิทยา และอาจารย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลจากเกษตรฯ มานั่งคุยกัน อาจารย์ท่านหนึ่งได้แสดง animation ที่ simulate ด้วย supercomputer ที่ NOAA ว่าความจริงแล้ว แผ่นดินมันสั่นตลอดช่วงรอยต่อของเพลต (โดยศูนย์กลางอยู่ใต้หัวเกาะสุมาตราลงมา แต่ไม่ต่ำอย่างรูปใน CNN) ทำให้สึนามิกระจายเป็นวงรี ไม่ใช่วงกลม และสันคลื่นด้านที่วิ่งไปอินเดีย-ศรีลังกาดูจะใหญ่กว่า ทำให้ฝั่งโน้นได้รับความเสียหายมาก (และเลยไปถึงแอฟริกาด้วย) ส่วนบังกลาเทศก็เจอแค่ด้านข้างๆ จึงไม่โดนหนักเท่าประเทศอื่น
ดูจบ เลยไปค้นที่ เว็บของ NOAA แล้วก็ได้ ไฟล์ QickTime มา
อ่านรายละเอียดของ Indonesian Tsunami ที่ NOAA และจาก อีกข่าว ทำให้รู้ว่าที่สถานีแปซิฟิก (ฮาวาย) มีการวิเคราะห์พบความเป็นไปได้ของการเกิดสึนามิล่วงหน้า แต่ไม่มีช่องทางเตือนประเทศต่างๆ ทางมหาสมุทรอินเดีย มีแต่เตือนไปที่ออสเตรเลียเท่านั้น
รัฐบาลประเทศแถบนี้เริ่มเห็นความสำคัญของการติดตั้งระบบเตือนภัยแล้ว
อีกรายงานหนึ่ง โดย อ.ทวีศักดิ์ (ได้มาจาก ข่าว LTN) แสดงกราฟของระดับน้ำทะเล ซึ่งสอดคล้องกับคำบอกเล่าของผู้ประสบเหตุ ว่าน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว แล้วก็มีคลื่นใหญ่กลับมาเป็นระลอก โดยลูกที่สองรุนแรงที่สุด
งานนี้ ฮีโร่ที่ช่วยชีวิตผู้คนไว้ได้มากก็คือ ต้นไม้และแนวปะการัง ที่ช่วยดูดซับแรงกระแทกจากสึนามิไว้
ยอดผู้เสียชีวิตยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ด้านที่ดีที่ช่วยบรรเทาความเศร้าสลดก็คือ น้ำใจจากคนไทยและนานาชาติ ที่ช่วยกันบรรเทาสาธารณภัยครั้งใหญ่นี้ แม้แต่กบฎแบ่งแยกดินแดน (ในบางประเทศ) ก็ร่วมมือกับรัฐบาลเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว
ขวัญเอย.. ขวัญมา..