Theppitak's blog

My personal blog.

29 สิงหาคม 2552

How Translation is in need

GNOME 2.28 string freeze แล้ว ได้เวลามาคิดเกี่ยวกับเรื่องแปลอีกแล้ว

ผมเคย blog ไว้ ว่า จะลดบทบาทงานแปลใน GNOME ลง ให้เหลือเพียงการประสานงาน (ตรวจทานและ commit และ maintain เล็ก ๆ น้อย ๆ) เท่านั้น โดยไม่ลงมือแปลเองให้มากเหมือนเมื่อก่อน เพราะต้องการเวลาไปทำงานพัฒนาส่วนที่เป็น coding ที่เคยเป็นงานหลักของผมบ้าง

จากนั้น ก็ได้เขียนถึง แง่คิดต่าง ๆ เกี่ยวกับการแปลซอฟต์แวร์ เพื่อความชัดเจนว่าการวางมือของผมไม่ใช่การไม่เห็นด้วยกับการแปล และตามด้วย ทักษะที่จำเป็นสำหรับงานแปล ซึ่งผมได้พยายามอธิบายถึงการควบคุมคุณภาพงานแปล เพื่อให้ได้คำแปลที่ผู้ใช้เข้าใจง่าย ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่มองข้าม และไม่ให้ความสำคัญตามที่มันสมควรจะได้รับ

เรื่องการปล่อยมือจากงานแปล ก็ทำให้ผมมีเวลาไปให้ความสนใจกับงานพัฒนา ตามที่ได้ blog มาเป็นระยะ ๆ แล้ว และสำหรับ GNOME 2.28 (ทั้ง UI และ doc) นี้ ผมก็พยายามจะทำตามที่ตั้งใจไว้ คือไม่ลงมือแปลเอง ยกเว้นกรณีขาดเล็กขาดน้อย แต่ยินดีรับคำแปลที่นักแปลส่งมาให้

เรื่องประเด็นว่างานแปลจำเป็นแค่ไหน ผมเองยังมีความรู้สึกว่า ผู้ใช้คนไทยส่วนใหญ่ที่ผมพบ จะไม่เปิดใช้คำแปลไทยกัน และผมก็เคยพยายามอธิบายให้ฝรั่งฟังตอนที่ถกหาทางออกเรื่อง โลโก้ของ GNOME โดยมีแนวคิดให้ localize โลโก้ตามภาษาของข้อความ ว่าสำหรับเมืองไทยอาจใช้ไม่ได้ เพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่ยังชอบใช้เมนูอังกฤษอยู่ แม้ว่าทักษะภาษาอังกฤษโดยเฉลี่ยของประชากรจะยังไม่สูงนักก็ตาม และการใช้เมนูอังกฤษ ก็ไม่มีอะไรสัมพันธ์กับความชอบหรือไม่ชอบส้นตีน

ต่อมา GNOME เขาก็มี การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้ GNOME ก็ปรากฏว่าสำหรับคนทั้งโลกแล้ว ประมาณ 70% จะใช้โปรแกรมในภาษาของตัวเอง อีก 30% ที่เหลือจึงจะใช้เมนูที่ไม่ใช่ภาษาตัวเอง (หมายความว่า ผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเปิดโปรแกรมภาษาอังกฤษ จะนับรวมอยู่ในกลุ่มเดียวกับผู้ที่พูดภาษาไทยเปิดโปรแกรมฉบับแปลไทย ดังนั้น ตัวเลข 30% จึงเป็นการนับผู้ใช้ที่พูดภาษาอื่นแต่ยังเปิดโปรแกรมเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยอาจเป็นไปได้ที่จะนับรวมคนที่เปิดโปรแกรมฉบับแปลเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ทั้งภาษาพูดของตนและภาษาอังกฤษบ้าง แต่คงมีน้อย :P)

อันนั้นผมยังคิดว่าเป็นพฤติกรรมโดยรวมของประชากรโลก ยังไม่ใช่ของคนไทย ก็เลยลองเปิด โพลล์ ที่ debianclub ดู โดยในขณะที่เขียน blog นี้ มีผู้ลงมติ 292 ราย โดย 67% จะเปิดใช้เมนูไทย

นี่เป็นการสุ่มแบบหยาบ ๆ ที่อาจจะเป็นแค่กลุ่มตัวอย่างเล็ก ๆ แต่ก็พอทำให้เห็นภาพที่ขัดกับสิ่งที่ผมเคยเชื่อเอาเองตามความรู้สึก คือมีคนที่ใช้ซอฟต์แวร์ฉบับแปลมากกว่าที่ผมคิดไว้

เป็นอันว่าผมคงเอาไปอ้างกับฝรั่งไม่ได้อีกแล้ว ว่าคนไทยส่วนใหญ่เปิดเมนูอังกฤษ เพราะผลสำรวจไม่เหมือนกับที่คิดไว้ แต่โพลล์นี้ไม่ได้มีเจตนาจะเอามาสนับสนุนความจำเป็นของงานแปล เพราะแม้จะไม่มีโพลล์นี้ ผมก็ยังคงคิดว่างานแปลสำคัญอยู่นั่นเอง ตามที่ได้ว่าไปแล้วใน blog ก่อน ๆ

ป้ายกำกับ: , ,

25 สิงหาคม 2552

Thanks

เมื่อเย็นวานนี้ คุณมะระแห่ง ubuntuclub กับคุณวุฒิแห่ง PCLinuxClub แวะมาเยี่ยมเยียน ก็นั่งคุยกันได้ไม่นาน เพราะเขาต้องรีบไปธุระต่อที่กาฬสินธุ์ ก่อนจาก ทั้งสองได้มอบเงินสนับสนุนงานพัฒนาในนามของคลับทั้งสอง ก็ต้องขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน และให้กำลังใจกันนะครับ และขอขอบคุณไปยังสมาชิกของคลับทั้งสองด้วยครับ

ป้ายกำกับ:

15 สิงหาคม 2552

ThaiLaTeX 0.4.4

ถัดจาก ThaiLaTeX 0.4.3 ก็ออก 0.4.4 ตามมาติด ๆ โดยเป็นการแก้ปัญหาเรื่องสคริปต์ติดตั้งตามข้อเสนอแนะของคุณ zodmaner ใน blog ก่อน ซึ่งรวมทั้ง Makefile และสคริปต์ประกอบสำหรับ admin

รุ่นนี้ได้ตัดการรองรับ teTeX รุ่นโบราณที่ทำให้สคริปต์ดูรุ่มร่ามออก เพราะยังไงเสีย รุ่นนั้นก็เก่ามากแล้ว และไม่สามารถทดสอบได้ด้วยว่ายังใช้การได้อยู่หรือเปล่า หลังจากแก้อะไรเพิ่มไปแล้ว

การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่ว่า น่าจะทำให้ติดตั้งในระบบต่าง ๆ ได้ราบรื่นมากขึ้น หลังจากที่ 0.4.3 ได้อิงอาศัยสคริปต์ของ Debian (tex-common) ช่วยเป็นหลัก โดยไม่ได้เตรียมรองรับระบบอื่นเลย

นอกจากนี้ ก็ได้ทำเพิ่มอีกเรื่องหนึ่ง คือการย้าย glyph ตัวหนาของ TlwgTypo มายัง TlwgTypist ตามที่ได้เคย วางแผนไว้ โดยทำที่ thaifonts-scalable แล้วก็ย้ายเข้า thailatex อีกที ในชื่อ ttypist ซึ่งเป็นฟอนต์ monospace ปริยายสำหรับภาษาไทย

ก่อนออก ก็แถมท้ายด้วย make rule สำหรับสร้าง tarball สำหรับ CTAN upload ซึ่งเขาต้องการเอกสารเพิ่มเติมจากซอร์สปกติ จากเดิมที่ต้องทำแบบ manual ทุกครั้ง บางครั้งลืมทำ ก็ทำเป็นสคริปต์อัตโนมัติเสียเลย จะได้ไม่พลาดอีกในครั้งหน้า

ทำเสร็จแล้วก็ upload ไปที่ CTAN เรียบร้อย รอเขาจัดการติดตั้งให้ ส่วนที่ Debian ก็ upload แล้วเช่นกัน เป็นรายการแรกที่ upload โดยใช้สิทธิ์ DD

ป้ายกำกับ:

12 สิงหาคม 2552

I am now a Debian Developer

Finally, I have passed all the Debian New Maintainer process and officially become a Debian Developer. I would like to thank many people who helped me along the process.

Thanks to Jordi Mallach, the first person who asked me if I was interested in becoming a Debian Developer, and managed to get my PGP key signed.

Thanks Michael Vogt who helped me get initial Thai supporting packages into Ubuntu Dapper, and later into Debian. He has signed my key and sponsored some of my packages, including gtk-im-libthai and scim-thai.

Thanks Dafydd Harries for signing my key, advocating me and sponsoring many of my first packages, including libthai and pango-libthai.

Thanks Martin Würtele, my Application Manager, for taking time to educate me with the intensive test questions.

Thanks Paul Wise, who bugged me early after my NM application to adopt several Thai orphan packages, as well as signed my key, sponsored my packages, and helped coordinate with my AM when the contact was lost due to mailing problems.

Thanks Christian Perrier for encouraging me to become the Debian Thai L10N coordinator, signing my key, sponsoring my font packages, as well as suggesting me to apply for Debian Maintainer (DM) while still not a full Debian Developer.

Thanks Frank Küster and Norbert Preining for sponsoring my thailatex package and help me make it into good shape.

Thanks Loïc Minier for sponsoring libthai, libdatrie, pango-libthai and help me improve them a lot.

Thanks Mike Hommey for letting me solve some bugs with mozilla-related packages during my Task and Skill tests.

Thanks my occasional sponsors, such as Aníbal Monsalve Salazar, Martin Michlmayr, and other people who helped me directly or indirectly.

Debian NM process was a good experience. I've learned many philosophical and technical stuffs in relatively short time, through the test questions and real hands-on practices. As my AM said, it's not to torture me at all, but to make me learn. And it's one of the best lessons one could get. I'd encourage people who like to improve their skills to join Debian.

ป้ายกำกับ:

hacker emblem