Theppitak's blog

My personal blog.

16 มิถุนายน 2549

Debian as Supermarket?

อ่าน DWN ฉบับล่าสุด แล้วสะดุดกับคำว่า Supermarket ที่ Joey Hess เปรียบเปรยใน DebConf ครั้งล่าสุด ตามรายงาน ว่า Debian กำลังจะกลายเป็น supermarket ในที่สุด ที่คนทำแพกเกจก็ทำมาวางตามชั้นรอไว้ แล้วคนปรุงก็มาเลือกของไปแพ็คเป็น distro อย่าง Knoppix, Mepis, Damn Small หรือ Ubuntu แต่ Joey ก็ได้ อธิบายเพิ่มเติม ว่า Debian ไม่ใช่ supermarket ที่เป็นแค่ที่วางของ แต่ความสอดคล้องระหว่างแพกเกจต่างๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ Debian เน้น ซึ่งจากที่ได้สัมผัสการทำงานของ Debian มา ก็เข้าใจได้เลย ว่าพอทำแพกเกจขึ้นมา จะมีคนทำงานกลุ่มต่างๆ คอยคอมเมนต์แพกเกจ เพื่อรับประกันว่าแพกเกจทำตาม policy เปรี๊ยะๆ และมีคนที่เป็น core อย่าง Joey เองและคนอื่นๆ ที่คอยประสานงานการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งระบบ อย่างที่ Joey บรรยายว่า:

If that motive goes away I fear Debian could be left with mostly developers who are happily motivated with just packaging another peice of software. While there's nothing wrong with feeling that way and working on that basis, we don't want to lose the people who want to work on things that cut across sets of packages, like speeding up the boot time, improving the installation experience, making the distribution attractive for speakers of $language, making sure Debian supports as much hardware as best it can, porting Debian to interesting new architectures, integrating Xen and SE Linux with Debian, making a useful default desktop install, etc.

จุดที่ Joey ไม่สบายใจเกี่ยวกับกระแส Ubuntu ก็คือ มันจะทำให้ Debian กลายเป็น supermarket จริงๆ เมื่อความสนใจของนักพัฒนาย้ายไปที่ Ubuntu กัน แล้วโยนๆ patch กลับมา แล้วคน Debian ที่เหลือ ก็วุ่นอยู่กับการไล่ตามและหาทาง integrate

จะว่าไป กระแส Ubuntu ก็มีทั้งดีและไม่ดีกับ Debian การจะเข้าใจประเด็นนี้ ต้องไม่มองว่าสอง distro นี้เป็นคู่แข่งกัน แต่ต้องมองไปที่ mission เริ่มแรกของ Debian ที่จะเตรียม base distro ที่ดีที่สุด แล้วส่งเสริมให้ทุกคนเอาไปปรุงตามความสนใจของตน ซึ่งที่ผ่านมา distro จำนวนมาก ก็ได้เกิดขึ้นมาจากแนวคิดนี้ แล้วก็ได้พบการสมทบงานกลับมาที่แกนกลาง เป็นการพึ่งพาอาศัยกันที่ทำให้โครงการต่างๆ เหล่านี้ ได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ผ่าน Debian ที่เป็นแกนกลาง แต่กรณีของ Ubuntu ที่มีการดึงทรัพยากรออกไปด้วย การพึ่งพาอาศัยเลยแปลกไป

เรื่องนี้มันซ้อนกันหลายชั้น ถ้าระบบนิเวศน์ของ FOSS จะแบ่งเป็น upstream กับ distro ที่พึ่งพาอาศัยกันผ่านการบริโภคและป้อนกลับ Debian ก็คล้ายๆ กับเป็น upstream สำหรับ Ubuntu อีกทอดหนึ่งเหมือนกัน Mark Shuttleworth ก็ดูจะมีทัศนคติที่ดีกับ Debian อยู่ ก็ได้แต่หวังว่า ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนตระกูล Debian จะไม่ถูกแยกออกจากกันด้วยความ popular ของ Ubuntu และกลุ่มผู้ใช้และนัก advocate เอง

0 ความเห็น:

แสดงความเห็น (มีการกลั่นกรองสำหรับ blog ที่เก่ากว่า 14 วัน)

<< กลับหน้าแรก

hacker emblem