Theppitak's blog

My personal blog.

20 ตุลาคม 2548

Update สถานะ OO.o + Firefox

ความจริง งานประชุมสัมมนามันก็มีประโยชน์เหมือนกันนะ อย่างน้อย งานที่จะไปนี่ ก็เป็นไฟมาลนก้นให้เร่งสำรวจสิ่งที่ขาดของภาษาไทยใน FOSS อีกครั้ง รวมทั้งสามารถใช้การเตรียมการเป็นเหตุผลชี้แจงผู้ว่าจ้างทั้งหลาย เพื่อขอเวลาว่างมาทำงาน FOSS ได้

เรื่องอื่นๆ พอจะมีข้อมูลจากการติดตามอยู่แล้ว เมื่อวานนี้ ก็มาถึงเรื่องที่ไม่ได้จับต้องมานาน คือ OpenOffice.org และ Firefox

OpenOffice.org

ตัวนี้ ได้ หิน ช่วยทดสอบ/ให้ข้อมูล ได้ข้อสรุปว่า

  • ฟอนต์จาก thaifonts-scalable ที่ว่ามีปัญหาวรรณยุกต์ลอยกับ OO.o นั้น พบว่าถ้า generate TTF ใหม่โดยตัดตาราง OpenType ออก ก็จะ shape สวยงาม

    ก็แปลกดี กลายเป็นว่า ถ้าจะใช้ OpenType กับ GTK+/Pango ก็จะติดปัญหากับ OO.o ทำให้หลายคนคงเลือก downgrade ฟอนต์กลับไปใช้ non-OpenType.. ซึ่งตรงนี้ คงต้องฝากทีม OO.o ช่วยตรวจสอบให้ด้วย

    เพื่อไม่ให้การพัฒนาฟอนต์หยุดชะงักเพราะ OO.o ใครอยากใช้ OpenType กับ GNOME ก็คงต้อง generate ฟอนต์สองแบบ แบบมีและไม่มี OpenType โดยตั้งชื่อให้ต่างกัน แล้วใช้ OpenType กับ GNOME และ non-OpenType กับ OO.o

  • input method ภายในของ OO.o สามารถตรวจลำดับการพิมพ์ภาษาไทยได้ โดยไปที่ Tools > Options > Language Settings > Complex Text Layout แล้วเลือก Use sequence checking ซึ่งในรุ่น 2.0 นี้ หินบอกว่า ตรวจได้อย่างเดียว ส่วนเรื่องการแก้ลำดับการพิมพ์ ต้องรอรุ่นหน้า (ข้อมูลเพิ่มเติม: คุณ James Clark เสนอ issue แล้ว และโค้ดก็ check-in เข้า CVS แล้วด้วย!)

  • XIM integration ของ OO.o ยังไม่มีการ peek context ทำให้ถ้าใช้ XIM โดยไม่ใช้ input method ภายใน การตรวจลำดับจะเป็นแบบ short term คือจะไม่รับสระบน-ล่างอีก ถ้ากลับไปแก้ข้อความเดิมที่มีอยู่

  • IIIMF integration ยังเซ็ตไม่สำเร็จ (ผมใช้กับ GNOME ได้แล้ว แต่ไม่รู้จะเซ็ต OO.o ยังไงให้ใช้ IIIMF ได้)

FireFox

จะว่าเชยก็เชย ผมได้ยินเรื่อง pango patch ใน Mozilla มานาน แต่ไม่เคย build ได้เลย ซึ่งมาพบว่าเป็นเพราะตัวเอง build ผ่าน jhbuild เพื่อใช้กับ GNOME ด้วย ซึ่ง GNOME ใช้ 1.7 branch แต่ pango patch นั้น เขาไปเข้าที่ trunk สรุปว่าถ้าอยากจะใช้ full pango ก็ต้อง build จาก trunk

ว่าแล้วก็ check out มาใหม่ แล้วก็นั่ง build หลายชั่วโมงผ่านไป ก็ได้ มฤคทายวัน (Deer Park) แบบ --enable-pango มาใช้ ก็ปรากฏว่า shape ภาษาไทยสวยงาม

แต่ปัญหา ซึ่ง MrChoke บ่นให้ฟังทาง ICQ มาหลายรอบก็คือ pango มันมีปัญหากับ column-justified paragraph ลองแล้วก็เจอปัญหาจริง ซึ่งรวมไปถึงการใช้ letter spacing ใน stylesheet ด้วย แต่ปัญหานี้ ดูจะ มีมาก่อนจะใช้ pango แล้ว (กับ --enable-ctl ซึ่งใช้ pango-lite)

ตอนนี้ ถึงอยากจะไปลุยกะเขาแค่ไหน ก็ต้องอดไว้ก่อน จนกว่าจะเคลียร์งานอื่นเสร็จ T_T เอาเป็นว่า โฉบดูรอบนึงคร่าวๆ ก่อนละกัน

2 ความเห็น:

  • 5 พฤศจิกายน 2548 เวลา 10:58 , Anonymous ไม่ระบุชื่อ แถลง…

    สรุปว่าควรจะใช้ตัวไหนดีครับ --enable-pango vs --enable-ctl เพราะตอนนี้ผมเจอปัญหาแล้ว deer park มัน crashs ตลอดเลย เวลาใช้พวก arrow keys

    /usr/lib/mozilla-firefox/firefox-bin: symbol lookup error: /usr/lib/mozilla-firefox/components/libctl.so: undefined symbol: pangolite_find_map
    firefox-bin exited with non-zero status (127)

     
  • 6 พฤศจิกายน 2548 เวลา 00:02 , Blogger Thep แถลง…

    --enable-ctl คงจะเลิกใช้ในไม่ช้าครับ ตอนนี้ผมใช้ --enable-pango ก็ไม่มีปัญหาอะไร ทั้งเรื่อง render และการเลื่อนเคอร์เซอร์ (แต่รู้สึกอืดๆ นิดหน่อย)

     

แสดงความเห็น (มีการกลั่นกรองสำหรับ blog ที่เก่ากว่า 14 วัน)

<< กลับหน้าแรก

hacker emblem