Scripts of the World
งานแปล GNOME 2.12 ยังดำเนินต่อไป เพื่อการหลุดพ้นจากสถานะ unsupported ของภาษาไทย ดูซิจะทำ hat trick ติดชาร์ต top 5 movers สามอาทิตย์ติดต่อกันได้หรือเปล่า เอิ๊กๆ
แต่ละแพกเกจจะมีความยากในการแปลต่างกันไป แต่จะมีบางแพกเกจที่ต้องอาศัยการค้นคว้าเป็นหลัก ไม่ใช่การแปลประโยคตามปกติ อย่างเช่น locations ใน gweather ก็ต้องค้นตัวสะกดชื่อประเทศ และชื่อเมืองต่างๆ และอีกแพกเกจหนึ่ง ที่ต้องอาศัยการค้นคว้าเหมือนกัน คือ gucharmap หรือโปรแกรมตารางอักขระยูนิโค้ดนั่นเอง เป็นการค้นหาตัวสะกดชื่อภาษาต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งระหว่างค้นไป ก็จะเจอความรู้เรื่องภาษาไปด้วย ตัวอย่างเช่น:
- ภาษาจีน นอกจากอักษรฮั่น (Hanzi - 汉字 / 漢字) แล้ว ยังมีตัวเขียนเสียงอ่านอีก ซึ่งเราจะคุ้นกับระบบ พินอิน (Pinyin - 拼音) ซึ่งใช้อักษรโรมันมากกว่า แต่ก็ยังมีระบบเดิมที่ยังใช้อยู่ในไต้หวัน คือ จู้อิน (Zhuyin - 注音) ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Bopomofo (ㄅㄆㄇㄈ) โดยเอามาจากอักขระสี่ตัวแรกที่ใช้เขียนเสียงในระบบนี้นั่นเอง ตัวจู้อินนี้ ในจีนแผ่นดินใหญ่ได้พัฒนามาเป็นพินอิน โดยแทนด้วยอักขระโรมันเท่านั้น องค์ประกอบของเสียงต่างๆ ยังคงเดิมทุกประการ ก็เลยพลิกตำราภาษาจีนกลาง แปล Bopomofo ว่า ปอพอมอฟอ แล้ววงเล็บไว้ว่า จู้อิน หวังว่าจะใช้ได้ เหอๆ
- แหล่งข้อมูลเรื่องการออกเสียงพินอิน: หลักการออกเสียงภาษาจีนกลางโดยใช้พินอิน (Pinyin) เขียนโดย คุณปาริชาติ
- คำว่า "อักษรฮั่น" ในภาษาต่างๆ:
- ประเทศกลุ่ม CJKV มีระบบการเขียนแบบ syllabary คือประกอบพยางค์กันทั้งนั้น ถึงแม้จะมีอักษรฮั่นซึ่งเป็นอักษรภาพใช้ก็ตาม
- bookmark แหล่งภาษาเขียนของโลก:
- List of writing systems จาก Wikipedia
- Omniglot
ปล. ช่วงนี้ GNOME เขาย้ายเซิร์ฟเวอร์อยู่นะคร้าบ เห็นแจ้งล่วงหน้าไว้แล้ว ว่าจะใช้เวลาย้ายทั้งหมด 3 วัน บริการต่างๆ ทั้ง CVS, Bugzilla, เว็บ GNOME อะไรพวกนี้ หยุดชั่วคราวก่อน คนแปลโปรแกรมก็แปลแล้วอั้นๆ ไว้ รอ commit พรวดเดียว
หมายเหตุ: วันที่ blog: 29 มิ.ย. 2548 (ถูกดันขึ้นมาเพราะพยายาม tag blog เก่า)
1 ความเห็น:
ณ 4 กรกฎาคม 2548 เวลา 16:23 , the ancient แถลง…
ชอบ juytpin อ่ะ
http://www.cantonese.sheik.co.uk/essays/jyutping.htm
แสดงความเห็น (มีการกลั่นกรองสำหรับ blog ที่เก่ากว่า 14 วัน)
<< กลับหน้าแรก