Theppitak's blog

My personal blog.

05 กรกฎาคม 2557

LaTeX Options for fonts-tlwg

การเพิ่มฟอนต์ลักษมัณในแพกเกจ Fonts-TLWG พร้อมกับรองรับใน LaTeX ด้วยนั้น ทำให้เกิดคำถามกับผมว่า ในเมื่อมีฟอนต์สองค่ายมาอยู่ด้วยกัน คือ ฟอนต์แห่งชาติของเนคเทค และ ฟอนต์มาตรฐานราชการไทย จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับ SIPA (เว็บต้นทาง สาบสูญไปแล้วตามระเบียบของราชการไทย) ย่อมจะเกิดทางเลือกการใช้ฟอนต์ที่เด่นชัดระหว่างสองค่ายนี้ ซึ่งผู้ใช้อาจเลือกฟอนต์ได้โดยใช้คำสั่งใน preamble เช่น เมื่อต้องการใช้ฟอนต์ลักษมัณในเอกสาร:

\renewcommand{\sffamily}{laksaman}
\AtBeginDocument{\sffamily}

แต่ด้วยแนวโน้มของความต้องการที่น่าจะสูงพอ ผมจึงตัดสินใจเพิ่ม option ให้กับแพกเกจ fonts-tlwg เสียเลย โดยผู้ใช้สามารถใส่ option ขณะ \usepackage ได้เลย โดยแบ่งหมวดหมู่ของ option ดังนี้:

  • การใช้ฟอนต์ sans-serif แทนค่าปกติที่เป็นฟอนต์ roman:
    • sans : ใช้ฟอนต์ sans-serif เป็นฟอนต์ปกติของเอกสาร
  • การกำหนดฟอนต์ roman, sans-serif, และ teletype ของเอกสาร:
    • rmkinnari : ให้ฟอนต์ kinnari เป็นฟอนต์ roman ปริยาย
    • rmnorasi : ให้ฟอนต์ norasi เป็นฟอนต์ roman ปริยาย
    • sfgaruda : ให้ฟอนต์ garuda เป็นฟอนต์ sans-serif ปริยาย
    • sflaksaman : ให้ฟอนต์ laksaman เป็นฟอนต์ sans-serif ปริยาย
    • sfumpush : ให้ฟอนต์ umpush เป็นฟอนต์ sans-serif ปริยาย
    • sfloma : ให้ฟอนต์ loma เป็นฟอนต์ sans-serif ปริยาย
    • sfwaree : ให้ฟอนต์ waree เป็นฟอนต์ sans-serif ปริยาย
    • ttttype : ให้ฟอนต์ ttype เป็นฟอนต์ teletype ปริยาย
    • ttttypist : ให้ฟอนต์ ttypist เป็นฟอนต์ teletype ปริยาย
    ตัวเลือกกลุ่มนี้ไม่ได้เปลี่ยนฟอนต์ปริยายของเอกสารโดยตรง แต่เปลี่ยนฟอนต์ทั้งสามตระกูลสำหรับใช้คละกันในเอกสาร
  • การกำหนดฟอนต์ปริยายของเอกสาร:
    • kinnari : ให้ฟอนต์ kinnari เป็นฟอนต์ปริยายของเอกสาร
    • garuda : ให้ฟอนต์ garuda เป็นฟอนต์ปริยายของเอกสาร
    • norasi : ให้ฟอนต์ norasi เป็นฟอนต์ปริยายของเอกสาร
    • laksaman : ให้ฟอนต์ laksaman เป็นฟอนต์ปริยายของเอกสาร
    • loma : ให้ฟอนต์ loma เป็นฟอนต์ปริยายของเอกสาร
    • purisa : ให้ฟอนต์ purisa เป็นฟอนต์ปริยายของเอกสาร
    • sawasdee : ให้ฟอนต์ sawasdee เป็นฟอนต์ปริยายของเอกสาร
    • ttype : ให้ฟอนต์ ttype เป็นฟอนต์ปริยายของเอกสาร
    • ttypist : ให้ฟอนต์ ttypist เป็นฟอนต์ปริยายของเอกสาร
    • umpush : ให้ฟอนต์ umpush เป็นฟอนต์ปริยายของเอกสาร
    • waree : ให้ฟอนต์ waree เป็นฟอนต์ปริยายของเอกสาร
    ตัวเลือกกลุ่มนี้กำหนดฟอนต์ปริยายของทั้งเอกสาร โดยไม่ได้เปลี่ยนฟอนต์ทั้งสามตระกูล (อาจจะเหมาะกับเอกสารที่ใช้ฟอนต์เดียวทั้งเอกสาร เช่นหนังสือราชการไทยที่บังคับใช้ฟอนต์สารบรรณ)

ตัวอย่าง use case:

  • ต้องการใช้ฟอนต์ลักษมัณ (ดัดแปลงจากสารบรรณ) ทั้งเอกสาร (เช่น ในหนังสือราชการ):
    \usepackage[laksaman]{fonts-tlwg}
    
  • ต้องการใช้ฟอนต์ลักษมัณเป็น sans-serif (เช่น ในคำสั่ง \textsf{}) แทนฟอนต์ครุฑ (ฟอนต์ปริยายยังคงเป็น norasi):
    \usepackage[sflaksaman]{fonts-tlwg}
    
  • ต้องการใช้ฟอนต์ลักษมัณเป็นฟอนต์ปริยาย โดยต้องการผสมกับฟอนต์ roman, teletype ปกติ:
    \usepackage[sans,sflaksaman]{fonts-tlwg}
    
  • ต้องการใช้ฟอนต์ลักษมัณผสมกับฟอนต์กินรี โดยลักษมัณเป็นฟอนต์ปริยาย:
    \usepackage[sans,sflaksaman,rmkinnari]{fonts-tlwg}
    
  • ต้องการใช้ฟอนต์กินรีอย่างเดียวทั้งเอกสาร:
    \usepackage[kinnari]{fonts-tlwg}
    
  • ต้องการใช้ฟอนต์ครุฑผสมกับฟอนต์กินรี โดยฟอนต์ครุฑเป็นฟอนต์ปริยาย:
    \usepackage[sans,sfgaruda,rmkinnari]{fonts-tlwg}
    

เป็นฟีเจอร์ใหม่สำหรับ fonts-tlwg รุ่นหน้าที่จะรอออกรุ่นต่อไปครับ

ป้ายกำกับ: ,

0 ความเห็น:

แสดงความเห็น (มีการกลั่นกรองสำหรับ blog ที่เก่ากว่า 14 วัน)

<< กลับหน้าแรก

hacker emblem