Theppitak's blog

My personal blog.

08 พฤศจิกายน 2556

Thanks, and the September-October Diary

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนงานพัฒนาของผมในเดือนกันยายน-ตุลาคมที่ผ่านมาดังนี้ครับ:

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ต้องเขียน blog แบบรวบสองเดือน เนื่องจากภารกิจต่าง ๆ ค่อนข้างเร่งรัด จนอยากใช้เวลาสะสางงานให้เต็มที่มากกว่า

งานในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา แบ่งเป็นหมวด ๆ ดังนี้ครับ:

โครงการอักษรอีสาน

งานพัฒนาที่ LTN และ Debian

เป็นการปล่อยสิ่งที่พัฒนาสะสมมาตั้งแต่ระลอกที่แล้วเมื่อต้นปี โดยทยอยตรวจสอบความเรียบร้อยและออกรุ่นซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ดังนี้:

  • libdatrie 0.2.7
    • แก้ไขประเด็นเรื่อง portability เกี่ยวกับ void pointer arithmatics ซึ่งจะมีปัญหากับคอมไพเลอร์ที่ไม่ใช่ GCC โดยได้รับรายงานจากคุณ Mikhail Korobov ว่าคุณ Gabi Daver ได้พบปัญหานี้ขณะคอมไพล์ด้วย Visual C++ พร้อมแพตช์แก้
    • ระหว่างแก้ ได้ทดลองคอมไพล์ด้วยตัวเลือก -Wall ทำให้เจอ warning เพิ่มเติม และแก้ไขจนหมด
    • เขียน test case เพื่อให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องเวลาแก้โค้ดได้ในอนาคต ที่ผ่านมาจะทดสอบผ่าน libthai เป็นหลัก แต่เขียน test case เป็นเรื่องเป็นราวน่าจะสะดวกกว่า ซึ่งในระหว่างที่เขียน test case ก็ทำให้ได้อ่านเอกสารประกอบและแก้ไขที่ผิด พร้อมกับได้เพิ่ม API เพื่อความสะดวกในการใช้งานด้วย
    • ปรับ Doxyfile ที่ใช้สร้างเอกสาร เพื่อตัดสิ่งที่เลิกใช้แล้วใน doxygen 1.8.4
    • ออก libdatrie 0.2.7.1 ตามมา หลังจากพบว่าลืมปรับค่า library version เพื่อให้ SONAME สะท้อนการเพิ่ม API ที่เกิดขึ้น
    • อัปโหลด 0.2.7.1-1 เข้า Debian sid
  • thaixfonts 1.2.6
    • มีการปรับระบบ build ตาม autoconf รุ่นใหม่ และเปลี่ยนมาใช้ XZ tarball แทน GZ tarball ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำไว้นานแล้ว ก็ออกรุ่นมาเพื่อปรับตามซอฟต์แวร์อื่นเท่านั้น ส่วนตัวเนื้อหาฟอนต์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร
    • อัปโหลด 1:1.2.6-1 เข้า Debian sid
  • LibThai 0.1.20
    • ปรับข้อมูลพจนานุกรมตัดคำตามที่พบกรณีต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมา [เกร็ด: รุ่นนี้รู้จักอำเภอขนอมที่ไม่ใช่ ขน-อม แล้ว ;-)]
    • แก้ compiler warning ที่พบใน test case ต่าง ๆ
    • อัปโหลด 0.1.20-1 เข้า Debian sid
  • TeX hyphenation patterns
    • sync ข้อมูลพจนานุกรมตัดคำจาก libthai เข้าไปที่ ThaiLaTeX SVN พร้อมกับปรับแก้ hyphenation patterns ตามข้อมูลใหม่
    • แจ้งไปที่โครงการ tex-hyphen ว่าขอปรับข้อมูล hyphenation patterns ภาษาไทย พร้อมกับรายงานปัญหาของสคริปต์บางตัวที่ใช้สร้างข้อมูลอัตโนมัติ คุณ Mojca Miklavec ก็ได้ช่วยแก้สคริปต์ให้ (rev 652, 653) และรับแพตช์ปรับข้อมูลภาษาไทยไปรวมให้ (rev 654)
    • สอบถามและขอ import source ของ hyphenation patterns ภาษาไทยเข้าใน tex-hyphen โดยตรง เพื่อที่ต่อไปจะได้ไปทำงานที่นั่นแทนที่จะต้องผ่าน ThaiLaTeX แบบนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามแผน ที่เคยคุยกันไว้ จนกระทั่งได้ import source ใน rev 655
    • ไม่มีการอัปโหลดอะไรใน Debian แค่รอ Debian อัปเดตแพกเกจ texlive-base เท่านั้น
    • request ขอลบ thailatex ออกจาก Debian unstable เพื่อไม่ให้มีซอร์สตกค้างอยู่ (ลบแล้ว)
  • swath 0.5.1
    • แก้รหัสตัดคำของ Lambda จาก U+200C (ZWNJ) เป็น U+200B (ZWSP) ...ว่าแต่มีใครใช้ฟีเจอร์นี้ไหมเนี่ย?
    • sync ข้อมูลพจนานุกรมตัดคำจาก ThaiLaTeX/hyph-utf8 (ซึ่ง sync มาจาก LibThai อีกที) เพื่อให้ตัวตัดคำ LaTeX ทำงานสอดคล้องกับ hyphenation patterns
    • ก่อนออกก็ปรับซอร์สโค้ดของ swath เพื่อให้แต่ละรุ่นมีการปรับปรุงด้านความปลอดภัยไปทีละน้อย โดยในรุ่นนี้ได้ป้องกัน buffer overflow ใน file filter ต่าง ๆ (ยังมีให้แก้อีกเยอะในรุ่นถัด ๆ ไป :-P )
    • อัปโหลด 0.5.1-1 เข้า Debian sid
  • IBus-LibThai 0.1.2
    • แก้ปัญหาการกด shortcut (เช่น Ctrl-C) ใน IBus 1.5 อันเนื่องมาจากการเชื่อมรวมกับ XKB ของ IBus รุ่นนี้ ทำให้ผังแป้นพิมพ์ที่ระบุใน metadata ของ IBus-LibThai ว่าเป็น th ทำให้กด Ctrl-C ได้เป็น Ctrl-แ เสมอ แก้ไขโดยปรับผังแป้นพิมพ์เป็น us เท่านั้น
    • อย่างไรก็ดี การแก้ปัญหาในรายการที่แล้วทำให้เกิดปัญหาใหม่ คือทำให้กด accelerator ใน GUI ที่แปลเป็นไทย (เช่น Alt-ฟ เพื่อเรียกเมนู แฟ้ม) ไม่ได้ วิธีแก้ที่เหมาะสมจึงควรให้ IBus-LibThai พยายามแปลง key event ที่มีการกดปุ่มประกอบให้เป็นภาษาไทย แต่ปรากฏว่าไม่สามารถส่ง event ที่แปลงแล้วกลับไปหา event queue ได้ เนื่องจากฟังก์ชัน ibus_engine_forward_key_event() ไม่ทำงานอย่างที่คาด งมอยู่นานก็ไม่สามารถแก้ได้ เวลามีจำกัดจึงใช้วิธีกำหนดผังแป้นพิมพ์เป็น us,th เพื่อให้ GTK+ กับ XKB ไปคุยกันเอง ซึ่งก็ได้ผล แต่ปัญหาคือ มันจะแปลงอักขระตามผังเกษมณีเท่านั้น ใครใช้ผังปัตตะโชติใน IBus-LibThai ก็จะงง ไว้หาวิธีแก้ต่อไปในรุ่นหน้า
    • เพิ่มการรองรับการป้อนเลขไทยด้วยแป้นตัวเลข โดยอาศัยการกด CapsLock ล็อคไว้ หรือใช้การยกแคร่ระดับ 3 (Alt ขวา) อนึ่ง ตามที่เคยได้ ออกแบบไว้ เมื่อสองปีก่อนนั้น จะใช้ ScrollLock ไม่ใช่ CapsLock เนื่องจาก CapsLock จะไปเพิ่มขั้นตอนขณะสลับภาษาไปเป็นภาษาอังกฤษที่จะต้องปลด CapsLock อีกขั้นหนึ่งด้วย แต่ในครั้งนี้ได้ตัดสินใจเปลี่ยนเป็น CapsLock ด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรกคือการตรวจสอบสถานะของ ScrollLock ด้วย API ของ IBus เป็นไปได้ยาก เพราะไม่มีการเตรียมการรองรับไว้ ประการที่สองคือในแป้นพิมพ์ย่อส่วน เช่นแป้นพิมพ์โน้ตบุ๊ก หลายรุ่นได้ตัดปุ่ม ScrollLock ออกไปแล้ว ตามที่ วิกิพีเดียว่าไว้ (โน้ตบุ๊กผมก็ไม่มี)
    • อัปโหลด 0.1.2-1 เข้า Debian sid

งานแปล

  • ตรวจทาน คำแปล GNOME ตามที่มีผู้ส่งคำแปลเข้ามา โดยที่ผมไม่ได้แอคทีฟตามแปลเองอีกต่อไปแล้ว
  • แปล Xfce เป็นไทย เพิ่มเติม โดยล่าสุด ได้แปล core package ต่าง ๆ ครบแล้ว พร้อมกับปรับคำแปลทั้งหมดจาก master กลับไปที่ branch xfce-4.10 ด้วย และแปลปลั๊กอินที่ผมใช้อีกนิดหน่อยเพิ่มเติม ทำให้ขณะนี้อัตราการแปลของภาษาไทยอยู่ที่ 54% แล้ว

blog นี้ก็เลยยาวหน่อย ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , ,

0 ความเห็น:

แสดงความเห็น (มีการกลั่นกรองสำหรับ blog ที่เก่ากว่า 14 วัน)

<< กลับหน้าแรก

hacker emblem