A Linux Migration Case
บันทึกปัญหาที่ได้รับรายงานจากโรงเรียนแห่งหนึ่งที่เปลี่ยนมาใช้ลินุกซ์ (Ubuntu) ทั้งโรงเรียน โดยครูฝ่ายคอมพิวเตอร์ร่วมผลักดัน หลังได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ยังเป็นเรื่องแรงเฉื่อยจากสิ่งแวดล้อมเดิม
- เล่นวีซีดีไม่ได้ อันนี้ต้องถือว่าลินุกซ์ตายน้ำตื้น พอใส่ VCD ที่เป็นสื่อการสอนเข้าไป GNOME จะขึ้นกล่องโต้ตอบมาถามหาโปรแกรมที่จะเปิด โดยค่าปกติจะเป็น Totem (GStreamer) ซึ่งเล่น VCD ไม่ได้ และครูส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจไปว่าลินุกซ์เล่นวีซีดีไม่ได้ ก็ต้องควักโน้ตบุ๊กที่มีวินโดวส์มาเล่นแทน ทิ้งเครื่องลินุกซ์ปิดไว้
- ระบบส่งเกรดใช้ฟอร์แมตปิด เพิ่งทราบมาว่า สำนักงานเขตการศึกษา บังคับให้ส่งเกรดของนักเรียนในรูปแบบเฉพาะของโปรแกรมซึ่งพัฒนาขึ้นเองบนวินโดวส์ ทำให้โรงเรียนยังต้องซื้อไลเซนส์วินโดวส์เพื่อใช้ส่งเกรด
- ปัญหาการทำการบ้านของนักเรียน ที่โรงเรียนสอนใช้โปรแกรมบนลินุกซ์ แต่เครื่องที่บ้านของนักเรียนหลายคนยังเป็นวินโดวส์อยู่ และไม่สะดวกจะติดตั้งลินุกซ์ หรือแม้แต่โปรแกรมโอเพนซอร์สบนวินโดวส์ เนื่องจากเป็นเครื่องของผู้ปกครองที่ต้องใช้ทำงานอยู่ ดังนั้น นักเรียนจะคอยถามครู ว่าถ้าจะทำงานแต่ละอย่างที่ครูสั่งโดยใช้วินโดวส์ จะต้องใช้โปรแกรมอะไร (กลับกันกับคำถามของคนที่เพิ่งเปลี่ยนมาใช้ลินุกซ์)
ปัญหาเรื่องวีซีดี แก้ได้ด้วยการแนะนำให้รู้จักกับ VLC, MPlayer หรือ Xine แต่ถ้า GStreamer รองรับ VCD เสียที ปัญหานี้ก็จะง่ายลงเยอะ
ปัญหาเรื่องการทำการบ้านของนักเรียน อาจใช้วิธีแจก Live CD ให้ไปบูตใช้ที่บ้าน จะได้ไม่รบกวนผู้ปกครอง (และอาจชวนผู้ปกครองให้ลองใช้ด้วย)
แต่ปัญหาเรื่องระบบส่งเกรดนี่สิ.. ปัญหาระดับชาติเชียวแหละ ต้องอาศัยการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนไปใช้ระบบอื่น เช่น ผ่านเว็บ หรือใช้สเปรดชีตแทนก็ยังดี แต่คงทำโดยโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งโดยลำพังไม่ไหว
20 ความเห็น:
ณ 11 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 21:51 , Noi แถลง…
ที่ขอนแก่นหรือเปล่าครับ? ถ้าใช่ อยากจะหาเวลาไปฝังตัวเพื่อสังเกตพฤติกรรมและหาทางช่วยแก้ปัญหาครับ (ห้าวันน่าจะพอ มั๊ง)
ณ 11 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 23:30 , ไม่ระบุชื่อ แถลง…
ส่งเกรด ใช้ wine?
ณ 11 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 23:46 , ไม่ระบุชื่อ แถลง…
ส่งเกรด ใช้ wine?
----
อานนท์
ณ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 07:14 , Unknown แถลง…
เรียนผ่านเวบใช้ moodle สื่อการเรียนการสอนออนไลน์ แต่ต้องมีเวบไซด์
ณ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 08:31 , Thep แถลง…
อานนท์, ขอบคุณครับ เดี๋ยวบอกเขาลองดู
Sakda, อันนี้จะใช้อยู่ครับ พอดีว่าโรงเรียนมีระบบเก่าที่จ้างทำใช้อยู่ ตอนนี้ก็เพิ่งตกลงใจจะย้ายไป moodle ครับ (หลังจากที่ครูคอมพิวเตอร์ได้ทดลองใช้ต่างหากมานานพอควรแล้ว)
ณ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 09:28 , xwingman แถลง…
โรงเรียนผมก็ใช้เหมือนกันครับ เปลี่ยนมาใช้ linux ทั้งหมดเลย ทั้งครูและนักเรียน ใช้มาได้ประมาณ 1 ปีละ เครื่องนักเรียนทำเป็น LTSP ติดตั้งโปรแกรมแค่ 1 เครื่องเอง ที่เหลือก็ดึงจากเครื่องแม่เอา
โปรแกรมออกเกรดพวกโปรแกรม student ตอนนี้อย่างมึนเลย ตอนนี้เลยพัฒนาเอง(กำลังทำอยู่)เป็น version webapp ใช้ php+extjs+postgresql
อยากให้มีชุมนุมโรงเรียนที่ใช้ linux จะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
โปรแกรม student ใช้ virtualbox ลง winxp
ณ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 09:29 , xwingman แถลง…
ลืมบอกไปว่า ผมอยู่เชียงรายครับ แหะๆ
ณ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11:08 , Thep แถลง…
สงสัยต้องขอประสบการณ์ LTSP บ้างล่ะครับ ว่าเซ็ตแบบไหน ผมเซ็ตไว้เหมือนกัน แต่เป็นแบบ fat client คือให้เครื่องลูกทำ netboot แล้วก็ mount root ผ่าน NFS จะติดปัญหาว่า เวลาเครื่องลูกเปิดโปรแกรมพร้อมกันหลายเครื่องจะอืดมาก แต่ถ้าเปิดไม่พร้อมกันก็ไม่มีปัญหา
แต่การใช้งานปกติคือจะบอกเด็กเปิดโปรแกรมพร้อมกันทั้งห้อง สรุปก็เลยเปลี่ยนไปลงลินุกซ์ที่เครื่องลูกทุกเครื่องเอา แต่ตอนจะ upgrade หรือลงโปรแกรมเพิ่มนี่ เดินกันขาลากเลย
ณ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 18:11 , Mr.Somjate แถลง…
จริงครับที่ Totem ไม่สามารถใช้งานผ่านกล่องโต้ตอบ(อัตโนมัต) ...
แต่ Totem (GStreamer) สามารถเล่น VCD/DVD ได้โดยการเปิดผ่านที่เมนูของโปรแกรม เล่นได้แน่นอนครับ คอนเฟิร์ม ...
ผมมีตัวอย่างเพื่ออ้างอิงครับ ในการนำลินุกซ์/โอเพ่นซอร์สไปใช้งานในการเรียนการสอนของนักเรียนระดับ ม.1-ม.6 (สอนโดยปราศจากวินโดว์ส) ของคุณครูมนตรี โคตรคันทา (โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช)
http://docs.google.com/Doc?docid=0AbVfBndpWTWsZGdrc3F0OWdfMWMyNG4ydmQ4&hl=en
ณ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 19:01 , Thep แถลง…
Mr.Somjate,
จริงครับ ที่ว่าเรียกจากเมนูแล้ว Totem (GStreamer) สามารถเล่นแผ่นวีซีดีได้ แต่ปัญหาคือ มันเล่นได้แต่แทร็กแรกเท่านั้นครับ ไม่สามารถเล่นแทร็กอื่นได้อีก ซึ่งในหลายกรณีแทร็กแรกนี้จะเป็นแค่ใบปะหน้าเท่านั้น
ณ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 20:30 , Mr.Somjate แถลง…
^
จริงครับ ผมเลยลองกับ Karmic ผลเป็นอย่างที่คุณเทพฯบอกมาจริงๆ และก็รวมถึงตัวเล่นอื่นๆ vlc smplayer ก็มีอาการเช่นเดียวกัน มี mplayer ตัวเดียวที่เล่นได้ แต่ต้อง skip track เอง ...
ที่ตอบไปก่อนหน้านั้น เพราะผมเคยทดสอบว่าได้จริงๆ แต่ไม่ใช่ ณ ปัจจุบัน(ชักไม่มั่นใจ) ก็เลยกลับไปลองกับลองกับรุ่น jaunty ดู ปรากฏว่าสามารถเล่นผ่าน Totem ได้จริงๆครับ (เหวย! เวอร์ชั่นใหม่กว่ากับแย่ลงอ่ะ) ... แนบลิงค์ภาพมาให้ดูด้วยครับ ...
http://img59.imageshack.us/img59/7653/screenshotia.jpg
ณ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 21:21 , Thep แถลง…
VLC ก็เคยเล่นได้แต่แทร็กแรกจริง ๆ ครับ แต่รุ่นปัจจุบันที่ผมใช้ (1.0.4-2+b1 บน sid) เล่นได้ทุกแทร็กแบบต้องกด skip เอง และที่ลองกับครูที่โรงเรียน รุ่นบน Karmic ก็เล่นได้เหมือนกันนะครับ
media player บนลินุกซ์เดี๋ยวนี้มี regression เป็นพัก ๆ นะครับ เหอะ ๆ
ณ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 22:23 , Unknown แถลง…
xine มีให้เลือก vcd กะ vcdo
ถ้า จำไม่ผิด, 1 ใน 2 ตัว มีตัวนึงเล่น track อีกตัวไม่ track
ณ 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 07:25 , Unknown แถลง…
ใครผู้สนใจจัดตั้งเวบกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ linux ในโรงเรียน ลงชื่อไว้เลยครับเล่น linux ต้องช่วยกันจะได้ไม่เหงา
ณ 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 07:57 , Thep แถลง…
+1 ครับ และคิดว่าครูที่โรงเรียนที่กล่าวถึงก็คงสนใจเหมือนกัน
ณ 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 09:14 , xwingman แถลง…
ขออภัยครับที่มาตอบช้า ผมเพิ่งไปประชุมมาทั้ง อาทิตย์เลยครับ กลับมาก็เคลียงานอย่างมึนเลย
การทำ local app ใน ltsp มีข้อแม้คื่อ เครื่องลูกต้องมี ram อย่างน้อย 1GB นะครับ หรือ 750MB ก็ได้แล้วแต่ app ที่เราจะทำเป็น local
วิธีทำขอแบ่งเป็น 2 ตอนใหญ่ๆ คือ
1. ทำ local app (ตัวอย่างของผมเป็นการทำ local app สำหรับโปรแกรม firefox+java, inkacape , vlc,openoffice,gimp)
2. set Nat เพื่อให้เครื่องลูกสามารถออกเน็ตได้ (เครื่อง ltsp คือ 192.168.0.1 เครื่องลูกจึงอยู่ในวง 192.168.0.0 เครื่อง 192.168.7.1 เป็นเครื่อง proxy ของที่ทำงานที่ไว้แจก ip ให้ออกเน็ต)
********* Ltsp Local App **************
sudo cp /etc/apt/sources.list /opt/ltsp/i386/etc/apt/
sudo chroot /opt/ltsp/i386
mount -t proc proc /proc
apt-get update
apt-get dist-upgrade
apt-get install firefox openoffice.org gimp inkscape vlc
apt-get install sun-java6-plugin mozilla-plugin-vlc
***** apt-get install sun-java6-jdk sun-java6-jre sun-java6-plugin
umount /proc
exit
sudo nano /var/lib/tftpboot/ltsp/i386/lts.conf
[Default]
LOCAL_APPS=True
LOCAL_APPS_MENU = True
LOCAL_APPS_MENU_ITEMS = firefox,openoffice.org-calc,openoffice.org-draw,openoffice.org-impress,openoffice.org-math,openoffice.org-startcenter,openoffice.org-writer,gimp,inkscape,vlc
sudo ltsp-update-sshkeys
sudo ltsp-update-kernels
sudo ltsp-update-image
restart เครื่อง
********** NAT ***********
Edit /etc/ltsp/dhcpd.conf (sudo gedit /etc/ltsp/dhcpd.conf) setting the routers option to the ip address of the ltsp server on the ltsp network. eg
option routers 192.168.0.254;
sudo nano /etc/sysctl.conf
net.ipv4.ip_forward=1
sudo sysctl -w net.ipv4.ip_forward=1
sudo iptables --table nat --append POSTROUTING --jump MASQUERADE --source 192.168.0.0/24
sudo sh -c 'iptables-save > /etc/ltsp/nat'
sudo nano /etc/network/interfaces
add up iptables-restore < /etc/ltsp/nat to network interface eg..
iface eth0 inet static
address 192.168.0.254
netmask 255.255.255.0
broadcast 192.168.0.255
network 192.168.0.0
up iptables-restore < /etc/ltsp/nat
cat /etc/resolv.conf to find domain name ip eg... nameserver 192.168.7.1
sudo nano /etc/ltsp/dhcpd.conf
option domain-name-servers 192.168.7.1;
sudo /etc/init.d/dhcp3-server restart
ณ 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 09:21 , xwingman แถลง…
ลืมบอกไป ว่า ต้องเป็น ubuntu9.10 เท่านั้นนะครับ เพราะตัวนี้ทำ local app ง่ายสุดแล้ว
จากตัวอย่างนี้จะทำให้เครื่องลูกสามารถดูหนังที่ share ผ่านเครื่องแม่ได้โดยไม่กระตุกเลย (เครื่องที่ office เวลาดูหนัง 3 คนพร้อมกันไม่กระตุกเลย)
การทำ NAT ให้ดูจากนี้นะครับ
https://help.ubuntu.com/community/UbuntuLTSP/ThinClientHowtoNAT
เพราะผมเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้เท่าไหร่กลัวอธิบายจะทำมให้มึน
ณ 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11:27 , Thep แถลง…
เรื่อง NAT ไม่มีปัญหาครับ มี NAS gateway ออกเน็ตต่างหากอยู่แล้ว
LTSP server ที่เซ็ตไว้ ใช้ Debian Lenny ครับ ซึ่งคงไม่ต่างกับ Ubuntu เท่าไร แต่ระบบที่เซ็ตไว้ ต้องการให้เครื่องลูกบูตแล้วใช้การได้เหมือน local install ทุกประการ คือไม่ต้องสร้าง home ที่ server เนื่องจากที่เก็บมีไม่พอจำนวน user เพราะฉะนั้นก็เลยติดตั้งระบบทั้งหมดลงใน chroot เลย ตั้งแต่ base จนถึง GDM และ GNOME apps ซึ่งถือเป็นจุดเสี่ยงเรื่องประสิทธิภาพขณะบูตเครื่อง
แต่จากการใช้งาน ตอนเปิดเครื่องไม่เป็นปัญหา เพราะจะเปิดตอนเช้าแล้วทิ้งไว้ให้ใช้ทั้งวันอยู่แล้ว แต่ที่จะเป็นปัญหาคือ ตอนที่บอกให้เด็กเปิดโปรแกรม ซึ่งจะเปิดโปรแกรมกันทั้งห้องพร้อมกัน ก็จะมีปัญหากับโปรแกรมขนาดใหญ่อย่าง OpenOffice.org ครับ คือจะกินเวลาโหลดจาก server นานมาก ๆ (เครื่องในห้องมีประมาณ 30 เครื่อง กว่าจะเปิด OO.o เสร็จก็ปาเข้าไปเกือบครึ่งชั่วโมง) แต่ถ้าเปิดทีละเครื่องล่ะก็ ไม่เป็นไร
ผมเข้าใจว่า การตั้ง LOCAL_APPS=True ก็คงติดปัญหาเดียวกันเวลาเปิด OO.o 30 เครื่องพร้อมกัน อย่างนั้นหรือเปล่าครับ?
สิ่งที่ต้องการ อาจเป็นเรื่องการ config file system หรือ preload หรืออะไรก็ตามแต่ ที่จะทำให้ลดเวลาการโหลดโปรแกรมใหญ่ ๆ พร้อม ๆ กันหลาย ๆ เครื่องน่ะครับ
ณ 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 15:15 , xwingman แถลง…
แปลกดีนะครับ ทำไมถึงโหลดนานจัง ของผม เครื่อง ltsp serv เป็น pc core2(quot)2.66 Ghz ,ram4G, lan เป็น gigabit มี client อยู่ 28 เครื่อง
ตอน boot ช้าหน่อย เปิดทั้งห้อง มีหลุดบ้างตอนเปิด(1-2เครื่อง) แต่ boot ทั้งหมดใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที (ผมว่า 8 นาทีเสร็จครับ)
ผมคงเข้าใจ local app ของคุณ Thep ผิดไปครับ
อันแรกสุด local app ของผมหมายถึงการทำให้ app ใช้ cpu ของเครื่อง client ประมวลผล แทนที่จะใช้ของ server (แลกมาซึ่งการ boot ช้าหน่อย) จะเห็นผลตอนเล่นเน็ตครับ เพราะเปิดหลาย page เครื่อง ltsp serv เน่าไปเลย
แต่ผมไม่เคยเจอปัญหาเวลาเปิดโปรแกรมพร้อมๆกันแล้วเครื่อง เน่า นะครับ (หรือเพราะ lan ผมเป็น gigabit ด้วยเหรอปล่าวครับ) ถ้า hw คล้ายกัน ผมว่าลองหา hard disk อีกลูก มาติดตั้ง ubuntu 9.10 ดูไม่ดีเหรอครับ (ถึงแม้มันจะมีแม่เดียวกันก็ตาม)
ณ 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 15:55 , Thep แถลง…
ใช่ครับ local app คือแบบเดียวกัน คือให้โหลดโปรแกรมมารันที่ CPU เครื่องลูก เพียงแต่จะเป็นแบบเต็มระบบเลย ไม่ใช่เลือกแค่บาง app
เรื่องของการบูต ผมไม่ได้รับรายงานว่ามีปัญหานะครับ แต่จะมีปัญหาตอนที่โหลดโปรแกรมใหญ่ ๆ อย่าง OO.o พร้อมกันทุกเครื่องน่ะครับ
ตัวเซิร์ฟเวอร์นั้นใช้ gigabit ethernet เหมือนกันครับ แต่จะใช้ VLAN ร่วมกับ PC อื่นในตึกเดียวกันร่วมร้อยเครื่อง
ในครั้งก่อนที่เซ็ตนั้น ผมเคยแยกวง LAN ต่างหากสำหรับ LTSP โดยเฉพาะ แต่ตอนนั้นก็ยังไม่ได้เจอโหลดหนัก เพราะยังไม่ได้เริ่มใช้จริง แต่ครั้งนี้ พอจะเริ่มใช้จริง ก็นั่งเซ็ตใหม่หมดแบบฉุกละหุก ยังไม่มีเวลาแยกวง LAN..
คิดว่าอาจจะเกี่ยวไหมครับ :-/
แสดงความเห็น (มีการกลั่นกรองสำหรับ blog ที่เก่ากว่า 14 วัน)
<< กลับหน้าแรก