Theppitak's blog

My personal blog.

21 พฤษภาคม 2547

Web Usability

web page แท้ที่จริงคือหน้าเอกสารอย่างหนึ่ง บางเว็บอาจจะมีปฏิกิริยากับผู้ใช้ได้บ้าง แต่เมื่อมีการใช้เว็บกันมากๆ เข้า นักพัฒนาเว็บก็ชอบเพิ่มลูกเล่นให้กับเว็บ ในบรรดาลูกเล่นเหล่านี้ มีลักษณะที่ไม่พึงประสงค์อยู่ด้วย เลยลองรวบรวมไว้ดังนี้

  • เกี่ยวกับการใช้ script
    • ใช้ feature พิเศษของบราวเซอร์บางยี่ห้อ เช่น ใช้ VBScript ซึ่งไม่ใช่มาตรฐานอินเทอร์เน็ต ถือเป็นการกีดกันผู้ใช้บราวเซอร์อื่นออกจากเว็บของคุณเอง
    • ใช้ pull-down menu ซึ่งกว่าจะหาลิงก์ได้ครบต้องใช้เมาส์เลื่อนสำรวจ
    • ทำ animation ที่ status bar ทำให้พื้นที่ที่แสดง URL ของลิงก์หายไป
  • เกี่ยวกับการประดับประดา
    • ใช้ graphics อย่างฟุ่มเฟือย → เปลือง bandwidth คนที่เข้าเว็บผ่านโมเด็ม 56K มักไม่สามารถรอโหลดเว็บเหล่านี้จนเสร็จ
    • ใช้ blinking text หรือ animated graphics → ค่อนข้างน่ารำคาญมากกว่าน่าดู โดยเฉพาะการใช้ภาพเคลื่อนไหวแบบต่อเนื่องความละเอียดสูง ซึ่งบริโภคพลัง CPU มาก บางครั้ง เมื่อเปิดหลายๆ หน้า ถึงกับทำให้บราวเซอร์ค้างไปเลย และแน่นอน วิธีแก้ที่ง่ายที่สุดก็คือ รีบปิดเว็บที่เป็นตัวการเสีย คุณอยากให้เป็นเว็บของคุณหรือ?
    • ใช้ flash → ถ้ามันไม่ใช่สาระของเว็บจริงๆ การรอโหลด flash เกินหนึ่งนาที ก็ทำให้ผู้เยื่ยมชมถอยห่างเช่นกัน
    • ใช้ pop-up → ถือเป็นการละเมิดพื้นที่หน้าจอของผู้ใช้ และ pop-up ส่วนใหญ่จะเป็นโฆษณาที่น่ารำคาญ บริโภค bandwidth โดยใช่เหตุ บราวเซอร์หลายตัวจึงมีความสามารถให้ห้ามเปิด pop-up ได้ ดังนั้น การสื่อสารข้อความสำคัญผ่าน pop-up จึงทำให้ข้อมูลสูญหายเสมอๆ
    • มีเพลงคลอ → คล้าย pop-up ตรงที่ เวลาเปิดหลายๆ หน้า แล้วจู่ๆ มีเพลงขึ้นมา ก็ไม่รู้หรอกว่ามาจากหน้าไหน แถมยังมารบกวนดนตรีที่กำลังเปิดฟังเพลินๆ อยู่ด้วย
  • เกี่ยวกับการออกแบบ
    • ใช้ frame ครอบทับ content จริง ทำให้ URL ที่แสดงใน location bar ไม่ใช่ URL ของ content และทำให้เอา URL ไปอ้างข้างนอกลำบาก
    • fix ความกว้างของ web page ซึ่งถ้ากว้างกว่าหน้าต่างปกติ ก็ทำให้ต้อง scroll ซ้าย-ขวาไปมา เวลาอ่านขึ้นบรรทัดใหม่ และถ้าแคบกว่าหน้าต่างปกติ ก็ไม่สามารถจัดการกรณีที่ข้อความล้นคอลัมน์ได้ (blog template ของ blogger.com หลายอันเป็นอย่างนี้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ผมดัดแปลง template เอง)
    • ใช้ javascript แทน HTML tag ในการทำลิงก์ ทำให้ควบคุมการเปิดลิงก์ไม่ได้ (เช่น จะเปิดใน tab ใหม่ผ่าน context menu ก็ไม่ได้)
    • ลิงก์ไม่แตกต่างจากข้อความธรรมดา ส่วนหนึ่งมาจากการไม่ขีดเส้นใต้ลิงก์ หรือไปขีดเส้นใต้ข้อความธรรมดา หรือการใช้สีในข้อความปกติที่เหมือนกับสีของลิงก์ (เกี่ยวกับเรื่องนี้ Jacob Nielsen แนะนำ ว่า ไม่ควรขีดเส้นใต้ข้อความธรรมดา และควรขีดเส้นใต้ลิงก์ พร้อมทั้งใช้สีที่แตกต่างจากข้อความธรรมดาอย่างเห็นได้ชัดด้วย)

เว็บแนะนำเกี่ยวกับ web usability

  • useit.com ของ Jakob Nielsen
  • Usability.gov ของ U.S. Department of Health and Human Services ค่อนข้างจัดเนื้อหาเป็นเรื่องเป็นราว
  • Usable Web รวมเว็บเกี่ยวกับ web usability
  • Real World Style รวม CSS layout

2 ความเห็น:

  • 21 พฤษภาคม 2547 เวลา 20:21 , Blogger bact' แถลง…

    จริงๆ ถ้าทำได้ ผมก็ไม่ชอบขีดเส้นใต้ลิงก์ฺอ่ะ
    แต่จะทำเป็นตัวหนา หรือว่าใช้สีอื่นแทน

    เส้นใต้ในเวบเบราเซอร์ มักจะทำให้อ่าน สระอุ อู ญ ฐ ลำบาก
    (เคยเสนอไปใน bugzilla ของ Mozilla แล้ว แต่ไม่ได้ตาม)

     
  • 21 พฤษภาคม 2547 เวลา 23:18 , Blogger Thep แถลง…

    อืมม์.. ความเห็นผมคือ ถ้ากำหนดตำแหน่งการขีดเส้นใต้ให้ดี ก็ไม่น่ามีปัญหาน่ะครับ เช่น ขีดที่ด้านบนของขมวดหัวสระอุพอดี

     

แสดงความเห็น (มีการกลั่นกรองสำหรับ blog ที่เก่ากว่า 14 วัน)

<< กลับหน้าแรก

hacker emblem