Theppitak's blog

My personal blog.

29 มิถุนายน 2559

LibThai 0.1.25 : More on Thread-safety

LibThai 0.1.25 ออกแล้ว ความเปลี่ยนแปลงหลักของรุ่นนี้อยู่ที่เรื่อง API ใหม่ที่ thread-safe กว่าเดิม และเรื่องย่อย ๆ คือการแก้ปัญหาการคอมไพล์ด้วย GCC 6 และการปรับพจนานุกรมตัดคำตามปกติ

Thread Safety

ในรุ่น 0.1.23 ได้ทำเรื่อง thread safety ไปแล้วส่วนหนึ่ง จากประเด็นที่พบใน Pango เมื่อมีหลายเธรดพยายามเรียกฟังก์ชันตัดคำพร้อมกัน ทำให้เกิดการแย่งใช้ free list ดังที่เคยอธิบายไว้ใน blog เก่า แต่ก็ยังแก้ไม่หมดจดพอ ดังที่คุณ Mark Brown ได้รายงานมาใน กลุ่มเมล Thai Linux/FOSS developers ว่ายังเหลืออีกจุดหนึ่ง คือขณะเปิดพจนานุกรมเป็นการภายในในการเรียกครั้งแรก เพราะจะยังมีการแย่งกันเปิดพจนานุกรมจนเกิดออบเจกต์พจนานุกรมหลายชุด แม้สุดท้ายจะใช้งานแค่ชุดเดียวและโปรแกรมก็ไม่แครช แต่ออบเจกต์ชุดที่เหลือก็เปลืองเนื้อที่ในหน่วยความจำ และจะไม่ถูกทำลายเมื่อจบโปรแกรมอีกด้วย

วิธีแก้ปัญหาได้พัฒนามาเป็นขั้นเป็นตอนดังนี้ :-

  1. ใช้ mutex ขณะเปิดพจนานุกรม เพื่อให้มีเพียงเธรดเดียวที่เปิด เธรดที่เหลือแค่รอใช้ แต่ปัญหาคือ mutex ของแต่ละ OS จะเรียกไม่เหมือนกัน (บน Linux และ Unix-like OS ทั้งหลาย ใช้ POSIX thread ส่วนวินโดวส์ใช้ Mutex Object ของตัวเอง แม้จะมี pthreads-win32 เป็น wrapper ให้ใช้ แต่ก็ยังต้องสร้างระบบ build และทดสอบขึ้นมาอีก) การจะใช้ mutex ใน libthai จะต้องสร้าง layer ใหม่เพื่อให้ยังคงทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ เป็นงานที่ใหญ่พอสมควรเมื่อเทียบกับปัญหาที่แก้
  2. แยกฟังก์ชันเปิดพจนานุกรมออกมาต่างหาก เป็นแนวคิดที่คุณ Mark Brown ปิ๊งขึ้นมาระหว่างทำอีกประเด็นหนึ่ง คือ การอนุญาตให้ระบุแฟ้มพจนานุกรมที่จะโหลด สำหรับใช้ในกรณีที่ผู้ใช้ไม่ต้องการใช้พจนานุกรมมาตรฐานของ libthai ซึ่งเมื่อกำหนดฟังก์ชันนี้ขึ้นมาแล้ว ก็จะเกิดขั้นตอนใหม่เพิ่มขึ้นก่อนที่ผู้ใช้จะตัดคำ คือการเช็กและเปิดพจนานุกรม ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้ใน critical region ที่มีการล็อคด้วย mutex เองได้ กลายเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ดังที่คุณ Mark Brown ได้อธิบายมาใน อีกกระทู้หนึ่ง
  3. กำหนด type ThBrk ผมชอบแนวคิดของคุณ Mark Brown ที่ทำให้สามารถเลี่ยงการสร้าง portability layer เพิ่มได้ จึงได้ generalize ออกมาเป็น API ชุดใหม่ คือให้ผู้ใช้สร้างออบเจกต์ชนิด ThBrk (ซึ่งภายในเก็บพจนานุกรมที่เปิดแล้ว) ภายใต้การปกป้องด้วย mutex ในตอนต้น แล้วจึงเรียกฟังก์ชันตัดคำต่าง ๆ แบบขนานตามต้องการ ดังที่ผมได้แสดงความเห็นต่อมาในกระทู้ดังกล่าว คลาส ThBrk นี้ สามารถซ่อนรายละเอียดเพื่อรองรับ implementation แบบอื่นในอนาคตได้ถ้าต้องการ เช่น การใช้สถิติ tri-gram ฯลฯ แต่ในขณะนี้เราจะใช้พจนานุกรมเพียงอย่างเดียวก่อน

API นี้มีการเปลี่ยนชื่อไปมาเพื่อความชัดเจน ในแบบสุดท้าย สรุปว่าตัวอย่างการใช้งานจะเป็นแบบนี้ :-

  // mutex lock here
  ThBrk *brk = th_brk_new (dictpath);
  // mutex unlock here

  // works in parallel
  int pos[N];
  int res = th_brk_find_breaks (brk, str, pos, N);

  // mutex lock here
  th_brk_delete (brk);
  // mutex unlock here

API เดิมจะยังคงมีอยู่เพื่อ backward compatibility โดยจะเป็น wrapper ที่แอบเปิดพจนานุกรมเป็นการภายในเช่นเดิม (ซึ่งไม่ thread-safe) ก่อนเรียก API ชุดใหม่ แต่จะเริ่ม deprecate API เก่าตั้งแต่รุ่นนี้เป็นต้นไป เพื่อให้ผู้ใช้เปลี่ยนไปใช้ API ชุดใหม่แทน ดังนี้ :-

  • th_brk() ให้ใช้ th_brk_find_breaks() แทน
  • th_brk_line() ให้ใช้ th_brk_insert_breaks() แทน
  • th_wbrk() ให้ใช้ th_brk_wc_find_breaks() แทน
  • th_wbrk_line() ให้ใช้ th_brk_wc_insert_breaks() แทน

โดยผู้ใช้ต้องสร้างออบเจกต์ชนิด ThBrk ต่างหากเพื่อส่งให้ฟังก์ชันเหล่านี้ และทำลายเมื่อใช้งานเสร็จ

GCC 6

การปรับโค้ดอีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่สะสมมาตั้งแต่ช่วงที่ Debian กำหนดให้ใช้ GCC 6 เป็นรุ่น default ที่จะใช้ใน Stretch และได้รับรายงานจากคุณ Martin Michlmayr ใน Debian #811690 ว่าแพกเกจ scim-thai มีปัญหาในการคอมไพล์ด้วย GCC 6 ซึ่งต้นเหตุอยู่ที่ header file หนึ่งของ libthai จึงปรับแก้เสีย

Word Break Dictionary

ก็เป็นปกติเหมือน libthai ทุกรุ่น ที่จะมีการปรับพจนานุกรมตัดคำตามคำที่พบใหม่อยู่เสมอ ที่ผ่านมาผมไม่เคยรีวิวเลยว่ามีคำแบบไหนบ้างที่เพิ่มเข้ามา คิดว่านำเสนอบ้างก็น่าจะดี

คำที่น่าสนใจที่เพิ่มมาในรุ่นนี้:

  • กรังด์ปรีซ์ : จากดราม่าวอลเลย์บอลหญิงไทย-ญี่ปุ่น
  • สไตรีน, โมโนเมอร์ : จากกรณีถกเถียงเรื่องการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร
  • ทรัมป์ : จากการเมือง USA ในช่วงนี้
  • แอมเฟตามีน, ปุ๊น : จากข่าวการถอดยาบ้าออกจากบัญชียาเสพติดร้ายแรง
  • สเตอร์ลิง, เบรกซิท : จากข่าวประชามติ UK ถอนตัวจาก EU

และเช่นเคย ส่งเข้า Debian เรียบร้อยแล้วครับ

ป้ายกำกับ:

14 มิถุนายน 2559

Fonts-TLWG 0.6.3

Fonts-TLWG 0.6.3 ออกแล้ว เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว แต่เพิ่งจะได้เขียน blog บันทึกหลังจากที่เตรียมแพกเกจเพื่ออัปโหลดในที่ต่าง ๆ เสร็จ คือที่ Debian และ CTAN

รุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่ ออกรุ่นจาก GitHub หลังจากที่ ประกาศย้าย repository ของ TLWG ไปที่ GitHub เมื่อเดือนที่แล้ว แต่ยังคงใช้ linux.thai.net เป็นที่ประกาศหลักตามเดิม เพื่อความต่อเนื่องกับรุ่นก่อน ๆ

ความเปลี่ยนแปลงหลักที่เกิดขึ้นในรุ่นนี้ คือการเปลี่ยนให้ฟอนต์ Loma เป็นฟอนต์ UI หลักแทน Waree อันเนื่องมาจาก รายงานบั๊กของพี่สัมพันธ์ พร้อม follow-up ว่าฟอนต์ Waree นั้นตัวสูงเกินไปจนถูกขริบในบางเว็บ เช่น Facebook แต่ Loma นั้นเตี้ยพอที่จะเล็ดรอดมาได้ (เหตุผลก็คือ Waree นั้นออกแบบเพื่อเตรียมเพิ่มอักษรไทยให้กับฟอนต์ DejaVu Sans จึงมี glyph ละตินของ DejaVu Sans ซึ่งตัวสูงอยู่แล้วเป็นตัวตั้ง ส่วน Loma นั้น เข้าใจว่าออกแบบโดยอิสระของตัวเอง) หลังจากทดสอบและฟังความเห็นของหลาย ๆ ท่านที่มาคอมเมนต์ ก็เห็นว่าควรเลื่อนอันดับของฟอนต์ Loma ขึ้นมาสูงกว่า Waree ในการเลือกฟอนต์ sans-serif ของ fontconfig

ในการเลื่อนขั้นนั้น ตามหลักแล้วควรจะทำได้ง่าย ๆ ด้วยการเปลี่ยนลำดับแฟ้ม config ของ fontconfig ให้ Loma ขึ้นก่อน Waree เช่น เปลี่ยนชื่อแฟ้ม /etc/fonts/conf.d/64-12-tlwg-loma.conf ในรุ่น 0.6.2 ให้เป็น 64-10-tlwg-loma.conf แต่ทำแค่นั้นไม่ได้ช่วยให้ Loma มาก่อน Waree ได้ เพราะยังมีกฎชุด synthetic อีกชุดหนึ่งเข้ามามีส่วนด้วย ดังผลลัพธ์หลังเปลี่ยนชื่อแฟ้มดังกล่าว ก็ยังคง match sans-serif ได้ Waree เช่นเดิม (ในรุ่น 0.6.2):

$ cd /etc/fonts/conf.d
$ sudo mv 64-12-tlwg-loma.conf 64-10-tlwg-loma.conf
$ fc-match sans-serif
Waree.otf: "Waree" "Regular"

สาเหตุคือฟอนต์ Waree มีการจำลองตัวเองเพื่อทดแทนฟอนต์ Tahoma ด้วยการห้อยชื่อตัวเองในลำดับต่อจาก Tahoma (ในไฟล์ 89-tlwg-waree-synthetic.conf) แต่ด้วยความที่ Tahoma ได้ถูกกำหนดให้เป็น preferred font ตัวหนึ่งของละติน (ในไฟล์ 60-latin.conf) ซึ่งมาก่อนภาษาอื่น ๆ การจำลอง Tahoma ของ Waree จึงทำให้ Waree กลายเป็นฟอนต์ละตินตัวหนึ่งที่มาก่อนภาษาอื่น ๆ ไปด้วย!

รายละเอียดทางเทคนิคของการตรวจสอบ ผู้ที่สนใจสามารถอ่านได้ที่ส่วนท้ายของ blog

ฉะนั้น การจะเลื่อนขั้น Loma ขึ้น จึงติดที่กฎชุด synthetic ของ Waree นี้

แล้วกฎ synthetic นี้มาจากไหน? มันเริ่มมาจากแนวคิดการจำลองฟอนต์ที่ผู้ใช้นิยมใช้ในเอกสารต่าง ๆ บนวินโดวส์ด้วยฟอนต์ที่มีในชุด Fonts-TLWG เช่น จำลอง Angsana ด้วย Kinnari, จำลอง Browallia ด้วย Garuda ฯลฯ ดังมีบันทึกไว้ใน blog เก่าเมื่อปี 2550 ซึ่งฟอนต์ต่าง ๆ ก็มีเค้าหน้าตาให้จำลองกันได้ จนกระทั่งมาเจอกรณีการใช้ฟอนต์ MS Sans Serif และ Tahoma ในเว็บ จึงได้พยายามทดแทนด้วยฟอนต์ Loma และ Waree ตามลำดับ ดังอ้างถึงใน blog เก่าเมื่อปี 2552 โดยที่ทั้งสองฟอนต์นี้ไม่ได้มีเค้าของฟอนต์ที่จำลองเลย เพียงแต่ต้องการอุดช่องว่างของการแสดงหน้าเว็บเท่านั้น

กฎนี้เคยถูกรายงานว่าสร้างปัญหาให้กับภาษาอื่น เพราะ Waree จะโผล่มาแทน Tahoma ทั้ง ๆ ที่ตัวใหญ่กว่า Tahoma (LP #434054) ทำให้เคยตัดกฏนี้ออกไปชั่วระยะหนึ่ง แต่ก็เพิ่มกลับเข้ามาพร้อมกับการตรวจสอบภาษาเพิ่มเติมเพื่อให้ apply กับภาษาไทยเท่านั้น (LP #539008) ดังบันทึกใน thaifonts-scalable 0.4.14 แต่ในเมื่อมันมารบกวนการจัดอันดับฟอนต์ sans-serif ไทยทั้งระบบ ก็เห็นควรว่าควรตัดกฎ synthetic นี้ออก แล้วปล่อยให้ฟอนต์ sans-serif ที่ได้อันดับสูงสุดมาอุด Tahoma เอา

เมื่อตัดกฎ synthetic ออก ฟอนต์ Loma ก็ได้อันดับสูงกว่า Waree แล้ว

อีกประเด็นหนึ่งที่พบระหว่างทดลองใช้ Loma เป็นฟอนต์ UI หลัก นอกเหนือจากขนาดที่เล็กลงถนัดตาที่ใช้เวลาสักพักก็จะชินแล้ว ก็มีเรื่องความกว้างของอักขระเว้นวรรค (space) ที่กว้างเกินพอดี และเมื่อเทียบกับฟอนต์ทั่วไปก็ยิ่งยืนยันได้ จึงได้ปรับลดความกว้างของอักขระเว้นวรรคให้แคบลง ซึ่งก็ทำให้ย่อหน้าภาษาอังกฤษไม่ดูโหรงเหรงจนเกินไป

ก่อนปรับ:

Loma spacing in 0.6.2

หลังปรับ:

Loma spacing in 0.6.3

ทั้งหมดนั้น เสิร์ฟถึงคุณแล้วในรุ่น 0.6.3 ครับ!


ต่อไปนี้เป็นวิธีตรวจสอบการ apply กฎของ fontconfig ด้วยตัวเอง ซึ่งทำให้เห็นว่ากฎ synthetic ใน 0.6.2 ทำให้ Waree ล้ำหน้าฟอนต์ไทยอื่น ๆ ได้อย่างไร

วิธีตรวจสอบตามที่ เอกสาร fontconfig ได้อธิบายไว้ คือกำหนดตัวแปร environment FC_DEBUG โดยในที่นี้เราสนใจการ edit match pattern ในกฎต่าง ๆ ก็กำหนดค่าเป็น 4 แล้วเรียก fc-match ดังนี้:

$ FC_DEBUG=4 fc-match sans-serif

มันจะพ่นข้อความแสดงการ edit match pattern ในแต่ละขั้นออกมายืดยาว ก็อาจจะ redirect ลงแฟ้มแล้วมาตรวจสอบดู ก็จะพบขั้นตอนที่น่าสนใจคือ:

...

FcConfigSubstitute test pattern any family Equal(ignore blanks) "sans-serif"
Substitute Edit family Prepend "Bitstream Vera Sans" Comma "DejaVu Sans" Comma "
Verdana" Comma "Arial" Comma "Albany AMT" Comma "Luxi Sans" Comma "Nimbus Sans L
" Comma "Helvetica" Comma "Lucida Sans Unicode" Comma "BPG Glaho International" 
Comma "Tahoma"

Prepend list before  "DejaVu Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) 
[marker] "sans-serif"(s) "sans-serif"(w)
Prepend list after  "DejaVu Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) "
Bitstream Vera Sans"(w) "DejaVu Sans"(w) "Verdana"(w) "Arial"(w) "Albany AMT"(w)
 "Luxi Sans"(w) "Nimbus Sans L"(w) "Helvetica"(w) "Lucida Sans Unicode"(w) "BPG 
Glaho International"(w) "Tahoma"(w) "sans-serif"(s) "sans-serif"(w)

...

กฎนี้มาจาก 60-latin.conf ของ fontconfig เอง ที่เพิ่ม prefer list ของ sans-serif โดยมี Tahoma พ่วงอยู่ด้วย

จากนั้น ก็มีการ edit match pattern ต่อ ๆ มา จนมาถึงตรงนี้:

...

FcConfigSubstitute test pattern any family Equal(ignore blanks) "sans-serif"
Substitute Edit family Prepend "Loma"

Prepend list before  "DejaVu Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) 
"Bitstream Vera Sans"(w) "DejaVu Sans"(w) "Verdana"(w) "Arial"(w) "Albany AMT"(w
) "Luxi Sans"(w) "Nimbus Sans L"(w) "Helvetica"(w) "Lucida Sans Unicode"(w) "BPG
 Glaho International"(w) "Tahoma"(w) [marker] "sans-serif"(s) "sans-serif"(w)
Prepend list after  "DejaVu Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) "
Bitstream Vera Sans"(w) "DejaVu Sans"(w) "Verdana"(w) "Arial"(w) "Albany AMT"(w)
 "Luxi Sans"(w) "Nimbus Sans L"(w) "Helvetica"(w) "Lucida Sans Unicode"(w) "BPG 
Glaho International"(w) "Tahoma"(w) "Loma"(w) "sans-serif"(s) "sans-serif"(w)

...

FcConfigSubstitute test pattern any family Equal(ignore blanks) "sans-serif"
Substitute Edit family Prepend "Waree"

Prepend list before  "DejaVu Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) 
"Bitstream Vera Sans"(w) "DejaVu Sans"(w) "Verdana"(w) "Arial"(w) "Albany AMT"(w
) "Luxi Sans"(w) "Nimbus Sans L"(w) "Helvetica"(w) "Lucida Sans Unicode"(w) "BPG
 Glaho International"(w) "Tahoma"(w) "Loma"(w) [marker] "sans-serif"(s) "sans-se
rif"(w)
Prepend list after  "DejaVu Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) "
Bitstream Vera Sans"(w) "DejaVu Sans"(w) "Verdana"(w) "Arial"(w) "Albany AMT"(w)
 "Luxi Sans"(w) "Nimbus Sans L"(w) "Helvetica"(w) "Lucida Sans Unicode"(w) "BPG 
Glaho International"(w) "Tahoma"(w) "Loma"(w) "Waree"(w) "sans-serif"(s) "sans-s
erif"(w)

...

ซึ่งก็ดูเรียบร้อยดี Loma น่าจะ match ก่อน Waree แล้ว จนกระทั่งมาถึงตรงนี้:

...

FcConfigSubstitute test pattern any lang Contains "th"
FcConfigSubstitute test pattern any family Equal "Tahoma"
Substitute Edit family Append "Waree"

Append list before  "DejaVu Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) "
Bitstream Vera Sans"(w) "DejaVu Sans"(w) "Verdana"(w) "Arial"(w) "Albany AMT"(w)
 "Luxi Sans"(w) "Nimbus Sans L"(w) "Helvetica"(w) "Lucida Sans Unicode"(w) "BPG 
Glaho International"(w) "Tahoma"(w) [marker] "Loma"(w) "Waree"(w) "Garuda"(w) "U
mpush"(w) "Laksaman"(w) "Meera"(w) "Khmer OS"(w) "Nachlieli"(w) "Lucida Sans Uni
code"(w) "Yudit Unicode"(w) "Kerkis"(w) "ArmNet Helvetica"(w) "Artsounk"(w) "BPG
 UTF8 M"(w) "Waree"(w) "Loma"(w) "Garuda"(w) "Umpush"(w) "Saysettha Unicode"(w) 
"JG Lao Old Arial"(w) "GF Zemen Unicode"(w) "Pigiarniq"(w) "B Davat"(w) "B Comps
et"(w) "Kacst-Qr"(w) "Urdu Nastaliq Unicode"(w) "Raghindi"(w) "Mukti Narrow"(w) 
"padmaa"(w) "Hapax Berbère"(w) "MS Gothic"(w) "UmePlus P Gothic"(w) "SimSun"(w) 
"PMingLiu"(w) "WenQuanYi Zen Hei"(w) "WenQuanYi Bitmap Song"(w) "AR PL ShanHeiSu
n Uni"(w) "AR PL New Sung"(w) "MgOpen Moderna"(w) "MgOpen Modata"(w) "MgOpen Cos
metica"(w) "VL Gothic"(w) "IPAMonaGothic"(w) "IPAGothic"(w) "Sazanami Gothic"(w)
 "Kochi Gothic"(w) "AR PL KaitiM GB"(w) "AR PL KaitiM Big5"(w) "AR PL ShanHeiSun
 Uni"(w) "AR PL SungtiL GB"(w) "AR PL Mingti2L Big5"(w) "MS ゴシック"(w) "ZYSo
ng18030"(w) "NanumGothic"(w) "UnDotum"(w) "Baekmuk Dotum"(w) "Baekmuk Gulim"(w) 
"KacstQura"(w) "Lohit Bengali"(w) "Lohit Gujarati"(w) "Lohit Hindi"(w) "Lohit Ma
rathi"(w) "Lohit Maithili"(w) "Lohit Kashmiri"(w) "Lohit Konkani"(w) "Lohit Nepa
li"(w) "Lohit Sindhi"(w) "Lohit Punjabi"(w) "Lohit Tamil"(w) "Meera"(w) "Lohit M
alayalam"(w) "Lohit Kannada"(w) "Lohit Telugu"(w) "Lohit Oriya"(w) "LKLUG"(w) "F
reeSans"(w) "Arial Unicode MS"(w) "Arial Unicode"(w) "Code2000"(w) "Code2001"(w)
 "sans-serif"(s) "Arundina Sans"(w) "Roya"(w) "Koodak"(w) "Terafik"(w) "sans-ser
if"(w) "sans-serif"(w) "sans-serif"(w) "sans-serif"(w) "sans-serif"(w) "sans-ser
if"(w) "sans-serif"(w) "sans-serif"(w)
Append list after  "DejaVu Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) "DejaVu LGC Sans"(w) "B
itstream Vera Sans"(w) "DejaVu Sans"(w) "Verdana"(w) "Arial"(w) "Albany AMT"(w) 
"Luxi Sans"(w) "Nimbus Sans L"(w) "Helvetica"(w) "Lucida Sans Unicode"(w) "BPG G
laho International"(w) "Tahoma"(w) "Waree"(w) "Loma"(w) "Waree"(w) "Garuda"(w) "
Umpush"(w) "Laksaman"(w) "Meera"(w) "Khmer OS"(w) "Nachlieli"(w) "Lucida Sans Un
icode"(w) "Yudit Unicode"(w) "Kerkis"(w) "ArmNet Helvetica"(w) "Artsounk"(w) "BP
G UTF8 M"(w) "Waree"(w) "Loma"(w) "Garuda"(w) "Umpush"(w) "Saysettha Unicode"(w)
 "JG Lao Old Arial"(w) "GF Zemen Unicode"(w) "Pigiarniq"(w) "B Davat"(w) "B Comp
set"(w) "Kacst-Qr"(w) "Urdu Nastaliq Unicode"(w) "Raghindi"(w) "Mukti Narrow"(w)
 "padmaa"(w) "Hapax Berbère"(w) "MS Gothic"(w) "UmePlus P Gothic"(w) "SimSun"(w)
 "PMingLiu"(w) "WenQuanYi Zen Hei"(w) "WenQuanYi Bitmap Song"(w) "AR PL ShanHeiS
un Uni"(w) "AR PL New Sung"(w) "MgOpen Moderna"(w) "MgOpen Modata"(w) "MgOpen Co
smetica"(w) "VL Gothic"(w) "IPAMonaGothic"(w) "IPAGothic"(w) "Sazanami Gothic"(w
) "Kochi Gothic"(w) "AR PL KaitiM GB"(w) "AR PL KaitiM Big5"(w) "AR PL ShanHeiSu
n Uni"(w) "AR PL SungtiL GB"(w) "AR PL Mingti2L Big5"(w) "MS ゴシック"(w) "ZYS
ong18030"(w) "NanumGothic"(w) "UnDotum"(w) "Baekmuk Dotum"(w) "Baekmuk Gulim"(w)
 "KacstQura"(w) "Lohit Bengali"(w) "Lohit Gujarati"(w) "Lohit Hindi"(w) "Lohit M
arathi"(w) "Lohit Maithili"(w) "Lohit Kashmiri"(w) "Lohit Konkani"(w) "Lohit Nep
ali"(w) "Lohit Sindhi"(w) "Lohit Punjabi"(w) "Lohit Tamil"(w) "Meera"(w) "Lohit 
Malayalam"(w) "Lohit Kannada"(w) "Lohit Telugu"(w) "Lohit Oriya"(w) "LKLUG"(w) "
FreeSans"(w) "Arial Unicode MS"(w) "Arial Unicode"(w) "Code2000"(w) "Code2001"(w
) "sans-serif"(s) "Arundina Sans"(w) "Roya"(w) "Koodak"(w) "Terafik"(w) "sans-se
rif"(w) "sans-serif"(w) "sans-serif"(w) "sans-serif"(w) "sans-serif"(w) "sans-se
rif"(w) "sans-serif"(w) "sans-serif"(w)

...

กลายเป็นว่า Waree กลับมาแซงหน้า Loma อีกครั้งหลังจากกฎใน 89-tlwg-waree-synthetic.conf ผลก็คือ ไม่ว่าฟอนต์ไทยตัวไหนจะพยายามลิสต์ตัวเองขึ้นก่อนอย่างไรก็ตาม ก็จะแพ้ฟอนต์ที่ fallback ให้ Tahoma อยู่วันยังค่ำ และการสังเคราะห์ฟอนต์ Tahoma ด้วย Waree ก็ทำให้ Waree ไม่ยอมลงให้กับใคร!

ป้ายกำกับ: ,

hacker emblem